เมนู

ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป
เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด เป็นไปเพื่อไม่
ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ เป็นไปเพื่อไม่
สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส เป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก เป็นไปเพื่อสันโดษ
ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อ
ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็น
ไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดย
ส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.
จบ สังขิตตสูตรที่ 3

อรรถกถาสัขิตตสูตรที่ 3


สังขิตตสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สราคาย แปลว่า เพื่อความมีความกำหนัด. บทว่า
วิราคาย แปลว่า เพื่อความคลายกำหนัด. บทว่า สํโยคาย ได้แก่
เพื่อประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. บทว่า วิสํโยคาย ความว่า เพื่อ
ความไม่ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. บทว่า อาจยาย ได้แก่ เพื่อ

ความขยายวัฏฏะ. บทว่า โน อปจยาย ได้แก่ ไม่ใช่ เพื่อความ
ขยายวัฏฏะ. บทว่า ทุพฺภรตาย แปลว่า เพื่อความเลี้ยงยาก.
บทว่า โน ทุพฺภรตาย แปลว่า ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย. ในพระสูตร
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะด้วยปฐมวาร แต่ในทุติยวาร
ตรัสวิวัฏฏะ. ก็แลพระนางโคตมีบรรลุพระอรหัต ด้วยพระโอวาท
นี้แล.
จบ อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ 3

4. ทีฆชาณุสูตร


[144] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคม
แห่งชาวโกลิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะ ครั้งนั้นแล
โกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น
คฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครั้งเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทร์
ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดี
เงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
โปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข
ในภายหน้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม 4
ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน
แก่กุลบุตร 4 ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา 1 อารักขา
สัมปทา 1 กัลยาณมิตตตา 1 สมชีวิตา 1.
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตร
ในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม
พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ
ฝ่ายพลเรือ หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน
ในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบาย